❇️แม่บ้านเกษตรกรดีเด่น จังหวัดเพชรบูรณ์ ปี 2563

คำนำ

          เอกสารฉบับนี้ จัดทำขึ้นเพื่อเสนอ ประวัติ เรื่องราว และความเป็นมาของ “กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตย” แสดงกิจกรรมและการบริหารจัดการกลุ่ม ซึ่งกลุ่มมีสมาชิกจำนวน 30 ราย สถานที่ตั้งกลุ่ม หมู่ที่ 1 ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ 67180 เพื่อให้เกิดอาชีพของสมาชิกในชุมชนเมื่อว่างเว้นจากการทำเกษตรกรรม เป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่สมาชิก เกิดการรวมกลุ่มและสร้างความสามัคคีของคนในชุมชน

คณะผู้จัดทำหวังเป็นอย่างยิ่งว่า เอกสารฉบับนี้จะเป็นประโยชน์แก่ผู้ที่สนใจ ในการดำเนินกิจกรรมและการรวมกลุ่มของ กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตยต่อไป

                                                                             คณะผู้จัดทำ

                                                กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตย

สารบัญ

เนื้อหา                                                                                         หน้า

บทที่ 1 บทนำ                                                                                1

บทที่ 2 การบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร                                           4

บทที่ 3 บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน                                 16

บทที่ 4 ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของกลุ่ม                                        17

บทที่ 5 กิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์

และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม                                        20

ภาคผนวก                                                                                     14     

บทที่ 1

บทนำ

1.1 ที่มาและความสำคัญ

          กรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบายส่งเสริมและพัฒนากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เริ่มตั้งแต่ ปี 2513 โดยส่งเสริมให้สตรีในภาคเกษตรรวมตัวกันเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรตามความสมัครใจ เพื่อให้รู้จักทำงานเป็นหมู่คณะภายใต้กติกากลุ่ม โดยสมาชิกเพื่อสมาชิก มีการบริหารงานในรูปคณะกรรมการ ซึ่งมีตั้งแต่ระดับตำบล อำเภอ จังหวัด เขต และระดับประเทศ มีศักยภาพในการดำเนินงานตามแนว เศรษฐกิจพอเพียงไปจนถึงวิสาหกิจชุมชนและเชิงธุรกิจ ทั้งยังช่วยผลักดันนโยบายกรมส่งเสริมการเกษตร และของรัฐบาลอย่างได้ผลดี ซึ่งก่อให้เกิดเครือข่ายความร่วมมือและการดำเนินการเพื่อการพัฒนาองค์กรเกษตรกรให้เข้มแข็ง

          แรกเริ่มกลุ่มแม่บ้านกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตยมีการผลิตเสื่อกก ทอผ้าขาวม้า ผ้าถุง เพื่อใช้เองในครัวเรือน ถ้าผลิตได้ปริมาณมากพอจะนำไปขายในชุมชน ต่อมาทางผู้นำกลุ่มและสมาชิกในกลุ่มเล็งเห็นว่าทางกลุ่มมีสมาชิกทั้งหมดเป็นแม่บ้านเกษตรกร และมีฝีมือในการผลิตเสื่อกก ทอผ้า ที่ดีอยู่แล้ว จึงอยากส่งเสริมให้สมาชิกกลุ่มมีรายได้เสริมเพิ่มขึ้นจากการประกอบอาชีพหลักคือการเป็นเกษตรกร ประกอบกับทางกรมส่งเสริมการเกษตรมีนโยบาย “โครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ภายใต้โครงการสร้างทักษะและส่งเสริมอาชีพด้านการเกษตร” ทางสำนักงานเกษตรอำเภอวิเชียรบุรีจึงได้ดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว หลังจากอบรมโครงการดังกล่าวแล้วกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตย     ได้เขียนโครงการเพื่อเสนอของบประมาณในโครงการนี้ และได้รับการอนุมัติงบประมาณเป็นจำนวนเงิน 74,740 บาท ทางกลุ่มจึงได้นำเงินดังกล่าวมาซื้อ และมีการดำเนินกิจกรรมของกลุ่มมาโดยตลอด หลังจากดำเนินกิจกรรมไปได้ระยะเวลาหนึ่งทางกลุ่มจึงได้ปรึกษาหารือกันอีกครั้งและตัดสินใจจดทะเบียนวิสาหกิจชุมชนกับกรมส่งเสริมการเกษตร เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 โดยใช้ชื่อ “วิสาหกิจชุมชนกลุ่มทอผ้าพุเตย” แต่ก็ยังคงดำเนินกิจกรรมในรูปแบบของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรด้วย โดยใช้ชื่อ “กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตย” ปัจจุบันสินค้าที่ผลิต ได้ผ่านรับรองมาตรฐานจากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ (มผช.) และมีออเดอร์สั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่อง สร้างรายได้และคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นให้กับสมาชิกอย่างทั่วถึง

1.2 แนวความคิดริเริ่ม

            ความเป็นมาของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตย  เริ่มจากสมาชิกส่วนใหญ่ของกลุ่มย้ายถิ่นฐานมาจากภาคอีสาน มีความรู้ความสามารถในการทอผ้า ทอเสื่อกก โดยจะทอเพื่อนำไปใช้ในครัวเรือน หากทอได้เป็นจำนวนมากจึงนำไปขายเป็นรายได้ครัวเรือนอีกทางหนึ่ง และได้มีการพัฒนาการทอเสื่อกกให้เป็นแบบพับได้ เพื่อสะดวกต่อการใช้งาน จากนั้นได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐในการพัฒนากลุ่มอย่างต่อเนื่อง ดังนี้

          ในปี พ.ศ. 2559 เทศบาลตำบลพุเตยได้จัดโครงการอบรมการทอผ้าประจำปี 2559 เพื่อส่งเสริมให้ความรู้เกี่ยวกับการทอผ้าให้กับประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพุเตย โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการทอผ้ากี่กระตุกแบบ 4 ตะกรอ คือให้มีการยกดอกและมีลวดลายต่างๆ ในผืนผ้า และได้เกิดการรวมกลุ่มกันเป็นกลุ่มทอผ้าพุเตย นอกจากนั้นเทศบาลตำบลพุเตยยังมอบกี่กระตุกให้สมาชิกในกลุ่มได้ยืมไว้สำหรับทอผ้าต่อไป โดยสถานที่ทอผ้าจะเป็นบ้านของสมาชิกแต่ละคน

          ในปี พ.ศ. 2561 สำนักงานเกษตรอำเภอวิเชียรบุรี ได้จัดโครงการเสริมสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย โดยมีสมาชิกกลุ่มทอผ้าเข้าอบรมโครงการดังกล่าว และได้จัดทำโครงการทอผ้าเพื่อขอรับสนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติม ซึ่งได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ สมาชิกจึงมีทุนหมุนเวียนภายในกลุ่ม ทำให้กลุ่มมีกิจกรรมต่อเนื่อง พร้อมทั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้ที่มาศึกษาดูงานในเขตเทศบาลตำบลพุเตย ในกลุ่มมีสมาชิกทั้งหมด จำนวน 25 คน

          ในปี พ.ศ. 2562 เทศบาลตำบลพุเตยได้สนับสนุนงบประมาณเพิ่มเติมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนให้ได้ได้มาตรฐาน และได้ผ่านการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) โดยจัดให้มีที่ทำการกลุ่ม ซึ่งได้รับการสนับสนุนสถานที่จาก นางสาวสุพัตรา  โพธิ์ศรี ประธานคณะกรรมการชุมชนสร้างสรรค์พัฒนา และได้รับงบประมาณสนับสนุนงบประมาณปรับปรุงสถานที่ทำการจากนางจินตนา ทองใจสด นายกเทศมนตรีตำบลพุเตย เพื่อให้ที่ทำการกลุ่มมีความเหมาะสมกับการทำกิจกรรมกลุ่ม ทั้งนี้ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกลุ่มโดยมีองค์ประกอบดังนี้

  1. นางสาวสุรินทร์  นาโพธิ์                 ประธาน
  2. นางรุ่งนภา  ทากุดเรือ                   รองประธาน
  3. นางสาวสุพัตรา  โพธิ์ศรี                 เหรัญญิก
  4. นางสาวดวงพร   ผาใต้                  เลขานุการ
  5. นางหนอย  โคตรกำพี้                    ประชาสัมพันธ์

          ในปี พ.ศ. 2563 กลุ่มทอผ้าพุเตยสมาชิกทั้งหมด จำนวน 28 คน มีผลิตภัณฑ์ทั้งหมด  4 ผลิตภัณฑ์ คือ ผ้าขาวม้า ผ้าถุง ผ้าทอลายตามสั่ง ผลิตภัณฑ์จากกก และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเศษผ้าขาวม้า เช่นพวงกุยแจ กระเป๋าผ้าใบเล็ก โดยกลุ่มได้เสนอผลิตภัณฑ์เข้าขอรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์ และได้ผ่านการรับรองมาตรฐาน จำนวน 3 ผลิตภัณฑ์ คือผ้าขาวม้า ผ้าถุง ผลิตภัณฑ์จากกก  และได้งบสนับสนุนจากเทศบาลตำบลพุเตยช่วยพัฒนาเรื่องการมัดลายหมี่เอง เพื่อให้มีลายที่เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่ม

ข้อมูลทั่วไป

ชื่อกลุ่ม                              กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตย

ที่ตั้ง                                  หมู่ที่ 1 ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี

                                      จังหวัดเพชรบูรณ์ รหัสไปรษณีย์ 67180  

ประธานกลุ่มฯ                      นางสาวสุรินทร์ นาโพธิ์

จำนวนสมาชิก                      28 ราย

โทรศัพท์                             087-3067850

ผลิตภัณฑ์                           – ผ้าขาวม้า

                                      – ผ้าถุง

                                      – ผลิตภัณฑ์จากกก 

                                      – ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเศษผ้าขาวม้า เช่น พวงกุญแจ กระเป๋าสตางค์

                                      กระเป๋าผ้า

E-mail                             

Facebook                         กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตย

Line                                 สุรินทร์ นาโพธิ์


บทที่ ๒

การบริหารจัดการกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร

๒.๑ วัตถุประสงค์ของการจัดตั้งกลุ่มแม่บ้าน

  1. เพื่อให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้น มีรายได้เสริมหลังจากการประกอบอาชีพหลักคืออาชีพเกษตรกรรรม
  2. เพื่อให้สมาชิกเรียนรู้กระบวนการทำงานแบบกลุ่ม สร้างความสามัคคีในชุมชน ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งสามารถพึ่งพาตนเองได้
  3. เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มนำทรัพยากรที่มีอยู่ในท้องถิ่นมาเพิ่มมูลค่าและก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
  4. เพื่อให้สมาชิกมีการประสานงานและดำเนินกิจกรรมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐ และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

๒.๒ โครงสร้างการบริการจัดการกลุ่ม

มีการกำหนดโครงสร้างการประกอบการ จัดหน้าที่ของสมาชิกตามความเหมาะสม และมีการชี้แจงหน้าที่ให้สมาชิกที่ได้รับมอบหมายรับทราบ รวมทั้งมอบหมายงานตามความเหมาะสมของความสามารถของสมาชิกแต่ละคน

                             โครงสร้างการบริหารจัดการกลุ่ม

นางสาวสุรินทร์  นาโพธิ์ ประธาน
นางสาวสุพัตรา โพธิ์ศรี เหรัญญิก
นางสาวดวงพร ผาใต้ เลขานุการ
นางหนอย โคตรก้ำพี้ ประชาสัมพันธ์
นางรุ่งนภา ทากุดเรือ
 รองประธาน

 

คณะทำงานแต่ละฝ่าย

ฝ่ายผลิต

นางสาวสุรินทร์   นาโพธิ์            นางสาวประนอม แป้นเพชร        นาง ทองบน พรมแพง

    นาง คำมี โพธิ์ศรี                นางลำเพลิน โคตรชาดา            นางรุ่งนภา ทากุดเรือ

ฝ่ายการตลาด

นางสาวสุพัตรา โพธิ์ศรี              นางสาวดวงพร ผาใต้                  นางอำนวย บรรยงค์

ฝ่ายตรวจสอบคุณภาพสินค้า

นางสาวสุรินทร์  นาโพธิ์            นางหนอย โคตรก้ำพี้                นางสมภา เทพลา

          วิทยากรหลักแต่ละกิจกรรม

          – ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า                 – ผลิตภัณฑ์เสื่อกก                  – ผลิตภัณฑ์ผ้าชิ้น                  

          นางสาวสุรินทร์ นาโพธิ์             นางหนอย โคตรก้ำพี้                นางคำมี โพธิ์ศรี

วิทยากรหลักแต่ละกิจกรรม

– การมัดหมี่                     – ผลิตภัณฑ์แปรรูป                  – การตัดเย็บ

นางทองบน พรมแพง           นางประนอม แป้นเพชร            นางลำเพลิน โคตรชาดา           

ที่ปรึกษากลุ่ม

          1. เกษตรอำเภอวิเชียรบุรี

          2. นายกเทศมนตรีตำบลพุเตย

          3. ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 1

          4. สมาชิกสภาเทศบาลพุเตย

          ๕. นางเกษร ธรรมสิทธิ์

โครงสร้างการบริหารองค์กร

          – บัญชีรายรับ รายจ่าย (เอกสารภาคผนวก)

          – เงินออมหรือหุ้น (เอกสารภาคผนวก)

2.3 แผนพัฒนากลุ่ม

          แผนการผลิต

ผลผลิต/สินค้า/ผลิตภัณฑ์ปี 2563 
เดือน*(ชิ้น)รวม
ม.ค.ก.พ.มี.ค.เม.ย.พ.ค.มิ.ย.ก.ค.ส.ค.ก.ย.ต.ค.พ.ย.ธ.ค. 
ผ้าขาวม้า707070705050505050505050680
ผ้าถุง     505050505050505050505050600
เสือกก202020202020202020202020240
กระเป่า505050505050505050505050600
พวงกุญแจ1001001001001001001001001001001001001200
รวม 2902902902902702902902902902902902903320

ต้นทุนการผลิตสินค้า

ลำดับชนิดสินค้าด้ายยืน/ด้ายพุ่งราคา/ผืนหมายเหตุ
1ผ้าขาวม้า100200 
2ผ้าถุง ประตูนาคราชเครือขอตำลึงทองไหลเรือไฟนกยูงศิลามณีต้นสนสนเต็มตัวขอน้อยดอกแก้ว  420 420 420 420 245 245 245 245  1000 1000 1000 1000 600 600 600 600               65 ลำ   25 ลำ
3เสือกก 40 เซน  3 พับ50 เซน  3 พับ  185 260  500 600 

แผนการตลาด       

  • ร่วมออกบูธ เช่น ออกบูธกับ สสส. เทศบาลตำบลพุเตย
  • ขายในชุมชน
  • ขายออนไลน์

2.3.1 ผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า

2.3.2 ผลิตภัณฑ์ผ้าถุงทอมัดหมี่ (ชิ้น)

                  ลายนกยูง                              ลายศิลามณี

            ลายขอต่องน้อย                 เครือขอตำลึงทอง

2.3.3  ผลิตภัณฑ์เสื่อกก

     ถ้วยทอง 3             ดาวล้อมเดือนใหญ่           ถ้วยทอง 1

  ดาวล้อมเดือนเล็ก         ถ้วยทอง 2                          สายน้ำ

2.3.4 ผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเศษผ้า

2.4 กฎระเบียบและข้อบังคับของสมาชิก     

ข้อบังคับของกลุ่ม วันที่ 4  ตุลาคม 2561 เป็นแนวทางปฏิบัติ ดังนี้

          ข้อ 1 ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับกลุ่มทอผ้าพุเตย

          ข้อ 2 ข้อบังคับนี้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 4 ตุลาคม 2561 เป็นต้นไป

          ข้อ 3 ในข้อบังคับนี้

                    “สมาชิก” หมายถึง สมาชิกกลุ่มทอผ้าพุเตย

                    “คณะกรรมการดำเนินการ” หมายถึง คณะกรรมการดำเนินการกลุ่มทอผ้าพุเตย

          ข้อ 4 ชื่อและที่ตั้งที่ทำการ

                    ชื่อกลุ่มทอผ้าพุเตย 

                   ที่ตั้ง ที่ทำการกลุ่ม หมู่ที่ 1 ตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์ 

                   รหัสไปรษณีย์ 67180

                   เบอร์โทร 087-3067850

          ข้อ 5 วัตถุประสงค์

                    การจัดตั้งกลุ่มทอผ้าพุเตย เพื่อดำเนินกิจการเกี่ยวกับการทอผ้าถุง ผ้าขาวม้า และแปรรูปผลิตภัณฑ์จากผ้าทอ และจัดจำหน่าย รวมถึงดำเนินกิจกรรมที่เป็นสาธารณะประโยชน์ต่อผู้อาศัยอยู่ในชุมชนให้มีรายได้เพิ่มขึ้น มีความสมัครสมานสามัคคี และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

                    (1) เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีการรวมกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกันในการประกอบกิจการ                     ด้านการผลิต

                    (2) เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรร่วมกันแก้ไขปัญหาการผลิต การแปรรูป และการตลาด

                    (3) เพื่อเป็นศูนย์กลางรับความรู้ในการถ่ายทอดวิชาการไปสู่เกษตรกร

                    (4) เพื่อใช้กระบวนการกลุ่มในการพัฒนาเกษตรกรให้มีความมั่นคงในการประกอบอาชีพ           สามารถพึ่งพาตนเองได้

          ข้อ 6 คุณสมบัติของสมาชิก ผู้สมัครเข้าเป็นสมาชิกต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้

                    (1) เป็นผู้เห็นชอบในวัตถุประสงค์และกิจกรรมของกลุ่มวิสาหกิจชุมชน

                    (2) เป็นบุคคลที่น่าเชื่อถืออยู่ในชุมชนเดียวกับกลุ่มสมาชิก

          ข้อ 7 การสมัครเข้าเป็นสมาชิก ผู้สมัครซึ่งมีคุณสมบัติตามข้อ 6 และประสงค์จะเป็นสมาชิกต้องยื่นใบสมัครถึงคณะกรรมการดำเนินการที่ตนต้องการเข้าสังกัด และเมื่อคณะกรรมการการดำเนินการพิจารณาและมีมติให้รับสมัครเข้าเป็นสมาชิกกลุ่ม จึงจะถือว่าผู้สมัครนั้นเป็นสมาชิก

          ข้อ 8 การขาดจากการเป็นสมาชิก สมาชิกขาดจากการเป็นสมาชิกด้วยเหตุใดเหตุหนึ่ง ดังต่อไปนี้

                    (1) ตาย

                    (2) ลาออก

                    (3) คณะกรรมการดำเนินการมีมติให้ออก

          ข้อ 9 ทุนดำเนินงานของกลุ่มให้ได้มาจาก

                    (1) ออกหุ้น

                    (2) รับฝากเงินจากสมาชิกและชุมชนอื่น

                    (3) เงินกู้ยืม

                    (4) เงินงบประมาณจากทางราชการ

                    (5) สะสมเงินกองทุนและเงินทุนที่ได้จากการจัดสรรกำไรสุทธิประจำปี

                    (6) รับเงินอุดหนุนหรือทรัพย์สินที่มีผู้ยกให้

          ข้อ 10 การดำเนินงานของกลุ่ม

                    (1) จัดให้มีการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง

                    (2) การดำรงตำแหน่งให้คณะกรรมการอยู่ในตำแหน่งได้คราวละ 1 ปี เมื่อครบกำหนด 1 ปี แล้ว ยังไม่มีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการขึ้นใหม่ก็ให้คณะกรรมการดำเนินการคนเดิมอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่ามีการเลือกตั้งคณะกรรมการดำเนินการขึ้นใหม่ คณะกรรมการดำเนินการผู้ออกไปนั้นอาจได้รับเลือกตั้งซ้ำ

                    ผู้ซึ่งเคยถูกที่ประชุมใหญ่สมาชิกถอดถอนจากตำแหน่งกรรมการดำเนินการ ไม่ให้ได้รับเลือกตั้งเป็นกรรมการดำเนินการ

                    ถ้าตำแหน่งประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการ หรือเหรัญญิก หรือคณะกรรมการดำเนินการว่างลงก่อนถึงคราวออกตามวาระ ให้ที่ประชุมใหญ่สมาชิกเลือกตั้งประธานกรรมการหรือรองประประธานกรรมการหรือเลขานุการ หรือเหรัญญิก หรือคณะกรรมการดำเนินการแทนในตำแหน่งที่ว่างประธานกรรมการ หรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการ หรือเหรัญญิก หรือคณะกรรมการดำเนินการซึ่งได้รับเลือกตั้งในตำแหน่งที่ว่างนั้นให้อยู่ในตำแหน่งได้เพียงเท่าที่กำหนดเวลาที่ผู้ซึ่งตนแทนนั้นชอบที่จะอยู่ได้

                    ทุกคราวซึ่งที่ประชุมใหญ่สมาชิกได้เลือกตั้งประธานกรรมการหรือรองประธานกรรมการหรือเลขานุการ หรือเหรัญญิก หรือคณะกรรมการดำเนินการขึ้นใหม่ ให้ประธานกรรมการหรือเลขานุการ มีหนังสือแจ้งเรื่องให้คณะกรรมการบริหารศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลทราบโดยเร็ว

          ข้อ 11 การพ้นจากตำแหน่ง

                    คณะกรรมการดำเนินการ พ้นจากตำแหน่งเพราะเหตุใดๆ ดังต่อไปนี้

                    (1) ถึงคราวออกตามวาระ

                    (2) ลาออกจากตำแหน่ง โดยแสดงความจำนงเป็นหนังสือต่อที่ประชุมใหญ่สมาชิก

                    (3) ขาดจากการเป็นสมาชิกไม่ว่าเพราะเหตุใดๆ

                    (4) ย้ายไปอยู่ชุมชนอื่น

                    (5) ที่ประชุมใหญ่สมาชิกลงมติถอดถอน

          ข้อ 12 หน้าที่ของคณะกรรมการดำเนินการ

                    ประธานกรรมการมีหน้าที่เป็นประธานของที่ประชุมใหญ่สมาชิกและที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการ และดูและกิจการทั่วไป เป็นผู้ติดต่อระหว่างศูนย์บริการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลกับกลุ่มฯ และปฏิบัติกิจการอื่นๆตามที่กลุ่มฯ

          รองประธานกรรมการมีหน้าที่เป็นผู้ช่วยประธานกรรมการและปฏิบัติหน้าที่แทนประธานกรรมการในเมื่อประธานกรรมการไม่อยู่หรือไม่อาจปฏิบัติหน้าที่ได้

          เลขานุการ มีหน้าที่บันทึกรายงานการประชุม ดำเนินการด้านเอกสารต่างๆ

          เหรัญญิก มีหน้าที่รับ จ่าย และเก็บรักษาเงินสด

          ให้ประธานกรรมการ รองประธานกรรมการ เลขานุการ และเหรัญญิกมีอำนาจลงลายมือชื่อแทนกลุ่มฯ

          ข้อ 13 การแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับนี้

                   จะกระทำโดยมติของที่ประชุมใหญ่สมาชิกและทุกคราวที่มีการแก้ไขข้อบังคับนี้ ให้มีการแจ้งสมาชิกกลุ่มทุกครั้ง

                    ที่ประชุมใหญ่สมาชิกของกลุ่มฯ  ได้พิจารณาข้อบังคับข้างต้นนี้ เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2561 ได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ ให้ถือใช้เป็นข้อบังคับของกลุ่มฯได้

2.5 การพัฒนาทุน ประสานแหล่งเงินทุน

ทุนสนับสนนุมาจากหน่วยงานต่างๆ เมื่อได้ทุนมาจะนำมาซื้อวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อให้สมาชิกในกลุ่มได้ใช้ให้เพียงพอตามจำนวนสมาชิก และเพื่อให้กิจกรรมพัฒนาและดำเนินต่อไป

การประสานแหล่งเงินทุนมาจากการเข้าร่วมกิจกรรมของแต่ละหน่วยงานจากนั้นได้เขียนของบประมาณ และได้แสดงศักยภาพของกลุ่มให้กับหน่วยงานได้รับรู้

2.6 การบูรณาการทำงานเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ

          ภาครัฐ F เข้าร่วมอบรมกับหน่วยงานภาครัฐ และนำแผนงานไปเสนอพร้อมของบประมาณมาพัฒนาสินค้า เช่น สำนักงานเกษตรอำเภอวิเชียรบุรี เทศบาลตำบลพุเตย พัฒนาชุมชนอำเภอวิเชียรบุรี

          ภาคเอกชน F นำเสนอผลิตภัณฑ์นั้นๆ จากนั้นนำไปจัดจำหน่าย

2.7 แนวคิดการแก้ไขปัญหา

          จัดประชุมเพื่อให้สมาชิกในกลุ่มช่วยกัน คิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

2.8 การพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรและชุมชน

  1. ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียงในการดำรงชีวิต
  2. มีการจดบันทึกทำบัญชีครัวเรือน
  3. สมาชิกในกลุ่มมีการปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานเอง บริเวณบ้านที่อยู่อาศัยของตนเองและมีการแลกเปลี่ยนซึ่งกันและกัน
  4. กิจกรรมลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ ใช้ทรัพยากรที่มีในชุมชนและใช้ให้เกิดประโยชน์มากที่สุด

2.9 ความมั่นคงด้านอาหาร

  • เนื่องจากคนในชุมชนส่วนใหญ่มีอาชีพเป็นเกษตรกรเพราะฉะนั้นความหลากทางด้าน    วัตถุดิบในการประกอบอาหารจึงมีหลากหลายและมีปริมาณมาก เกษตรกรมีการปลูกพืชหมุนเวียน ทำให้ไม่ขาดแคลนวัตถุดิบและทุกคนในชุมชน ตำบล สามารถเข้าถึงแหล่งอาหารได้

2.10 การสร้างสุขลักษณะในครัวเรือน

  • การจัดการบ้านเรือนของสมาชิกสะอาดและเป็นระเบียบ
  • การจัดอุปกรณ์และเครื่องมือ เครื่องใช้ในโรงผลิตให้สะดวกต่อการปฏิบัติงาน

บทที่ 3

บทบาทและการมีส่วนร่วมของสมาชิกต่อสถาบัน

3.1 การประชุมกลุ่ม

กลุ่มจะจัดประชุมทุกๆเดือน เพื่อชี้แจงการดำเนินงาน วางแผนการผลิต ร่วมกันรับฟังปัญหาด้านต่างๆ ถามความคิดเห็นจากสมาชิก และร่วมกันแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งทบทวนหน้าที่และบทบาทของสมาชิกแต่ละราย รวมไปถึงทบทวนกฎระเบียบข้อบังคับของกลุ่ม ทั้งนี้สมาชิกต้องปฏิบัติตามหน้าที่ที่ได้รับตามโครงสร้างกลุ่มอย่างเคร่งครัด

3.2 การพัฒนาตนเอง ใฝ่หาความรู้

  • สมาชิกกลุ่มให้ความสนใจและการเข้าร่วมการอบรมกับหน่วยงานต่างๆ
  • ใช้ช่องทาง social  media ให้การค้นหาศึกษาข้อมูล สื่อสารกันในกลุ่ม
  • เอกสารแนบภาคผนวก

บทที่ ๔

ความมั่นคงและฐานะทางเศรษฐกิจของกลุ่ม

4.1 ความเข้มแข็งของสมาชิก

  • การบริการจัดการ

คณะกรรมการของกลุ่มและสมาชิก มีการบริหารงานกันเอง ช่วยกันคิดหาข้อสรุป มีการร่างกฎระเบียบ ข้อบังคับกลุ่ม สมารถบังคับใช้ได้ตลอด จนกว่าจะมีมติตกลงว่าเปลี่ยนแปลง

  • การใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น

          จากการที่แม่บ้านเกษตรกรในชุมชนว่างเว้นจากการทำงานหลังจากทำเกษตรกรรม จนเกิดการรวมกลุ่มเป็นกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร เป็นการสร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่เกษตรกรในชุมชนที่สนใจรวมทั้งคนในครอบครัวของสมาชิก ทางกลุ่มมีการนำภูมิปัญญาและเคล็ดลับที่บรรพบุรุษได้สอนไว้นำมาประยุกต์ใช้กับการทอเสื่อ การทอผ้า ส่วนการมัดหมี่ขึ้นลายผ้าถุงกำลังศึกษาและทำลายให้เป็นเอกลักษณ์ของกลุ่ม สมาชิกที่อยู่ในกลุ่มมีรายได้เพิ่มขึ้น มีหนี้สินลดลง และมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

  • การบริหารจัดการเพื่อประโยชน์ต่อชุมชน

หลังจากที่กลุ่มมีรายได้และกำไรจากการประกอบกิจกรรมของกลุ่ม ทางกลุ่มมีการออกจัดเลี้ยงอาหารตามงานกิจกรรมต่างๆ ของอำเภอ ได้แก่ ร่วมบุญจัดโรงทานในงานทอดกฐินและผ้าป่าสามัคคี และเป็นสถานที่ศึกษาดูงาน

 4.2 กิจกรรมหรือผลิตภัณฑ์ที่มีการพัฒนาและผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาตรฐาน

  • ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด

4.3 การประสานแหล่งเงินทุน

          กลุ่มได้มีการเก็บเงินจากผลกำไรในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์เข้าเป็นเงินทุนของกลุ่มในส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งจ่ายเป็นค่าแรงให้กับสมาชิก และทางกลุ่มมีความสนใจไปอบรมกับหน่วยงานภาครัฐที่จัดอบรม ทำให้ได้พบปะกับหน่วยงานในภาครัฐ กลุ่มจึงเป็นที่รู้จักในหน่วยงานต่างๆ ทำให้หน่วยงานในภาครัฐเห็นถึงความสนใจ ความเข้มแข็ง ในการดำเนินการรวมกลุ่ม หน่วยงานภาครัฐจึงได้ให้งบประมาณต่างๆ มาพัฒนากลุ่ม

4.4 ความสามารถในการบริหารทุน

ตารางแสดงหน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ

ที่หน่วยงานที่สนับสนุนงบประมาณ (บาท)กิจกรรมปี พ.ศ.
1เทศบาลตำบลพุเตย25,000ซื้ออุปกรณ์ทอผ้า2559
2สำนักงานเกษตรอำเภอวิเชียรบุรี74,740ซื้อวัสดุทอผ้า2561
3สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวิเชียรบุรีสติ๊กเกอร์2562
4เทศบาลตำบลพุเตย30,000ซื้อวัสดุทอผ้า2562
5เทศบาลตำบลพุเตย โฮงมัดหมี่, ด้ายมัดหมี่, สีย้อมผ้า2563

4.5 การเติบโตและความมั่นคงทางฐานะการเงินของกลุ่ม

ตารางแสดงรายรับจากการขายผ้าขาวม้าของกลุ่ม

ปีรายรับ (บาท)หมายเหตุ
25614,800เริ่มมีรายรับเดือนพฤศจิกายน
256232,200 
25634,310รายรับเดือนมกราคม

4.6 เงินทุนหมุนเวียนของกลุ่ม

          48,200 บาท

4.7 แผนและโอกาสในการพัฒนากลุ่มในอนาคต

          1. กลุ่มมีแนวคิดที่จะพัฒนาในเรื่องของการแปรรูปผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าให้สูงขึ้น

ออกแบบลายมัดหมี่เพื่อให้เป็นอัตลักษณ์ของกลุ่ม

          2. แผนพัฒนากลุ่ม

– แผนการผลิตสินค้าแต่ละชนิด

– ลาย/ออกแบบที่กลุ่มคิดค้นเอง จดลิตสิทธิ์ของกลุ่ม (เอกสารแนบภาคผนวก)

บทที่ ๕

กิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

5.1 การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • ขั้นตอนกระบวนการผลิตมีการจัดการที่อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม
    • การรับวัตถุดิบ ลดการใช้ถุงพลาสติกใช้ตะกร้าในการรับวัตถุดิบ
    • กระบวนการผลิต นำเศษผ้าที่เหลือมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเศษผ้าขาวม้า เช่น พวงกุญแจ กระเป๋าสตางค์ กระเป๋าผ้า
    • การบรรจุ ลดการใช้ถุงพลาสติก ใช้ถุงกระดาษ
    • การขนส่ง มีการใช้กล่องพลาสติกในการขนย้ายสินค้าเพื่อนำออกไปจำหน่าย

5.2 กิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์

  • เป็นวิทยากรให้กับหน่วยงานทั้งเอกชนและภาครัฐ
  • การใช้สถานที่ตั้งและดำเนินกิจกรรมกลุ่มเป็นแหล่งเรียนรู้ในชุมชนและฝึกอบรมคณะ         ศึกษาดูงาน
  • บำเพ็ญสาธารณประโยชน์เนื่องในโอกาสต่างๆ
  • การปลูกฝังจิตสำนึกให้สมาชิกและคนในชุมชนช่วยเหลือเกื้อกูลกัน
  • เอกสารแนบภาคผนวก

ภาคผนวก

รายชื่อสามชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตย

ลำดับชื่อ – นามสกุลตำแหน่ง
1นางสาว สุรินทร์ นาโพธิ์ประธาน
2นาง รุ่งนภา ทากุดเรือรองประธาน
3นางสาวดวงพร ผาใต้เลขานุการ
4นางสาว สุพัตรา โพธิ์ศรีเหรัญญิก
5นาง หนอย โคตรก้ำพี้ประชาสัมพันธ์
6นาง อำนวย บรรยงค์สมาขิก
8นาง สมศรี ศรีทองสมาขิก
7นางสาวลักขนา ปะตาทะยังสมาขิก
9นางสาว ประนอม แป้นเพชรสมาขิก
10นาง ทองบน พรมแพงสมาขิก
11นาง สุกัญญา ทำนานอกสมาขิก
12นาง นิล นาโพธิ์สมาขิก
13นาง บังอร จันทอนสมาขิก
14นาง พิกุล ปะตาทะยังสมาขิก
15นาง ชรินทร์ ทิพย์แสงสมาขิก
16นางสาว อรทัย ทัพวัฒน์สมาขิก
17นาง ดี ต้นสกุลสมาขิก
18นางสมภา เทพลาสมาขิก
19นางสาว สมจิตร์ พรมนอกสมาขิก
20นาง เพียรทอง ทิพย์แสงสมาขิก
21นาง กนิษฐา พินิจมนตรีสมาขิก
22นาง คำมี โพธิ์ศรีสมาขิก
23นางสาวบุปผา  โคตรก้ำพี้สมาขิก
24นางชมพู คงชะเวทสมาขิก
25นางสาวจินดา ทองจันทรนามสมาขิก
26นางนกน้อย แสงรอดสมาขิก
27นางวันนา โพธิ์นอกสมาขิก
28นางลำเพลิน โคตรชาดาสมาขิก

บัญชีรายรับ-รายจ่าย

บัญชีรับ  ปี 2561-2562
ปีรายการจำนวนผืนราคา/ผืนจำนวนเงิน
2561ผ้าถุง6600             3,600
 ผ้าขาวม้า8150             1,200
 รวม               4,800
2562ผ้าถุง33600            19,800
 ผ้าขาวม้า92150            13,800
 ผ้าขาวม้า (200)22200             4,400
 ผ้าขาวม้า (เมตร)97100             9,700
 รวม              47,700
บัญชีจ่าย  ปี 2561-2562
ปีรายการจำนวนเงิน
2561วัสดุและอุปกรณ์ผ้าข้าวและผ้ามัดหมี่  74,740
    
 รวม  74,740
2562วัสดุและอุปกรณ์ผ้าข้าวและผ้ามัดหมี่  46,819
    
 รวม  46,819


การพัฒนาตนเอง ใฝ่หาความรู้

          วันที่ 29-31 มกราคม 2563 สมาชิกเข้าอบรมเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์การทอผ้าและการมัดหมี่   จัดโดยเทศบาลตำบลพุเตย อำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

          วันที่ 19-20 ธันวาคม 2562 ตัวแทนสมาชิกกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตยศึกษาดูงานการพัฒนาศักยภาพศูนย์การจัดการเครือข่ายสุขภาวะชุมชน ณ องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว                  อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

วันที่ 18-19 กันยายน 2562 เข้ารับการอบรมการทอผ้าไทย   

วันที่ 9-11 กันยายน 2562 สมาชิกศึกษาดูงานกรจัดการขยะด้วยวิถีชุมชน 

เข้าอบรมโครงการพัฒนาผู้ประกอบการใหม่

กิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

  • การใช้สถานที่ตั้งและดำเนินกิจกรรมกลุ่มเป็นแหล่งฝึกอบรมดูงาน
  • วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากเทศบาลตำบลเทพกระษัตรี จังหวัดภูเก็ต
  • วันที่ 31 มกราคม 2563 เวลา 13.30 น. ต้อนรับคณะศึกษาดูงานจากองค์การบริหารส่วนตำบลท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช  ศึกษาดูงานด้านการบริหารจัดการพัฒนาอาชีพชุมชนและท้องถิ่น กิจกรรมส่งเสริมการทอผ้าไทยและมัดหมี่

การถ่ายทอดความรู้แก่เยาวชนรุ่นใหม่

กิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์

  • เลี้ยงอาหารโรงทานวัดสามัคคีประชาราม (วัดยางราก) อำเภอโคกเจริญ จังหวัดลพบุรี

กิจกรรมด้านสาธารณประโยชน์และการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การพัฒนาคุณภาพชีวิตของครัวเรือนเกษตรกรและชุมชน

ออกบูทจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตย

การพัฒนาทุนและการประสานแหล่งเงินทุน

มาตรฐานที่ได้รับการรับรอง

  • วันที่ 29 ตุลาคม 2562 เวลา14.00 น. ต้อนรับผู้ตรวจมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์
  • ได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน (มผช.) จากสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์

จดรับรองลายลิขสิทธิ์ ประเภทงานศิลปกรรม








การเชื่อมโยงกับหน่วยงานต่างๆ

  • รับใบมาตรฐานรับรอง ผมช. กับอุตสาหกรรมจังหวัดเพชรบูรณ์
  • พัฒนากร (สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอวิเชียรบุรี) มาดูการดำเนินการของกลุ่ม เพื่อเตรียมการรับการสนับสนุนด้านต่างๆของกลุ่ม

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2563 คณะกรรมการคัดเลือกสถาบันเกษตรกรดีเด่น ประจำปี 2563 สาขากลุ่มแม่บ้านเกษตรกร จากสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์มาตรวจประเมินกลุ่มฯ

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ร่วมกิจกรรมงานราตรีแม่บ้านเกษตรกรอำเภอวิเชียบุรี ครั้งที่ 34 จัดโดยสำนักงานเกษตรอำเภอวิเชียรบุรี ทั้งนี้มีสมาชิกแม่บ้านเกษตรกรร่วมงาน ประมาณ 2,000 คน ภายในงานมีกิจกรรมประกวดร้องเพลง+แดนเซอร์ของแม่บ้านตำบลต่างๆ และรูปแบบของงานนั้นให้เกษตรกรนำอาหารมารับประทานร่วมกันโดยปูเสื่อนั่ง ณ บริเวณสำนักงานเกษตรอำเภอวิเชียรบุรี จังหวัดเพชรบูรณ์

แผนที่การเดินทางไปกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรทอผ้าพุเตย