❇️เกษตรกรสาขาไร่นาสวนผสม
- ประวัติส่วนตัวและครอบครัว
- ชื่อ – สกุล นายอุทัยวรรณ แก้วม่วง
- ที่อยู่ บ้านเลขที่ 265 บ้านอมกงพัฒนา หมู่ที่ 20 ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- วันเดือนปีเกิด วันที่ 11 เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2504 ปัจจุบันอายุ 58 ปี
- การศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพสาขาช่างเชื่อม จากวิทยาลัยเทคนิคเพชรบูรณ์ อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- สถานภาพ สมรสกับ นางฉลาด แก้วม่วง มีบุตร-ธิดา 2 คน คือ
1.5.1. นางสาวเพียงฤทัย แก้วม่วง การศึกษาปริญญาตรี ทำงานบริษัทเอกชน
1.5.2 นายภุชงค์ แก้วม่วง การศึกษามัธยมศึกษาตอนปลาย รับราชการทหาร
- ตำแหน่งด้านการปกครอง กำนันตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
1.7 ตำแหน่งด้านการเกษตร (พอสังเขป)
- ประธานเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรผสมผสาน (ไร่นาสวนผสม) ตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์
- เกษตรกรปราดเปรื่อง “Smart Farmer” ต้นแบบสาขาเกษตรผสมผสาน (ไร่นาสวนผสม)
- คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอเมืองเพชรบูรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์
คติประจำใจ คิดก่อนทำ ผู้นำต้องทำก่อน

ภาพที่ 1 รูปครอบครัว
ความคิดริเริ่ม และความพยายามฝ่าฟันอุปสรรคในการสร้างผลงาน
เริ่มแรกปี พ.ศ. 2530 ทำอาชีพการเกษตรแบบดั้งเดิมตามบรรพบุรุษ ต่อมาเมื่อ ปีพ.ศ. 2534 ได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 7 บ้านอมกง ตำบลท่าพล ได้มีโอกาสไปศึกษาดูงานด้านการเกษตรที่หลากหลาย จนได้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 20 บ้านอมกงพัฒนา ตำบลท่าพล เมื่อปี 2546 จึงได้น้อมนำแนวทางหลักเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ในหมู่บ้านให้เป็นหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และนำมาปรับใช้ในพื้นที่การเกษตรของตนเอง เนื่องจากปัญหาด้านการเกษตรที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยวที่มีต้นทุนที่สูงขึ้น เกิดการระบาดของโรคศัตรูพืชต่างๆ เกิดภัยธรรมชาติ อีกทั้งมีรายได้ไม่ต่อเนื่อง จึงได้เกิดแนวคิดปรับเปลี่ยนพื้นที่ 25 ไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่ลุ่มทำนาอย่างเดียว จึงเกิดแนวคิดทำการเกษตรตามหลักเกษตรทฤษฎีใหม่ โดยเริ่มจากการขุดบ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง ในพื้นที่ 3 งาน และเอาดินมาถมทำเป็นที่อยู่อาศัยเป็นพื้นที่จำนวน 2 งาน เมื่อปี พ.ศ. 2552 ต่อมาในปี พ.ศ. 2558 องค์การบริหารส่วนตำบลท่าพล มีโครงการพาผู้นำในพื้นที่ไปศึกษาดูงาน ที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดฉะเชิงเทรา และโครงการชั่งหัวมัน จังหวัดเพชรบุรี เพื่อนำองค์ความรู้กลับมาถ่ายทอดให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ มีการส่งเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่ทำไร่นาสวนผสมตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง แต่เนื่องจากเกษตรกรไม่สนใจ เพราะนิยมปลูกพืชเชิงเดี่ยวมากกว่า จึงเริ่มต้นทำในพื้นที่ของตัวเองและมีการวางแผนปรับเปลี่ยนจากการทำการเกษตรเชิงเดี่ยวมาเป็นการเกษตรแบบไร่นาสวนผสม เพื่อเป็นตัวอย่างและสร้างแรงบันดาลใจให้กับเกษตรกรในพื้นที่
พ.ศ. 2559 ขุดบ่อเพิ่มอีก 1 บ่อ จำนวน 1 งาน แล้วเอาดินจากการขุดบ่อมาถมที่นา เพื่อจะทำเป็นสวน เนื้อที่ปรับเปลี่ยน 2 ไร่ เพื่อปลูกถั่วดาวอินคา โดยนำผลผลิตมาแปรรูปจำหน่าย แยกเป็น
- ใบ แปรรูปเป็น ชา
- เปลือก เอาไปต้มเป็นยา
- เมล็ด ขายสด และคั่วขายเป็นกิโลกรัม
หลังจากที่ตลาดจำหน่ายถั่วดาวอินคาไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากไม่ค่อยได้รับความนิยม จึงเปลี่ยนจากการปลูกถั่วดาวอินคา มาเป็นไม้ผล ได้แก่ ส้มโอพันธุ์ขาวใหญ่ มะนาว มะกรูด พร้อมนำ หลักการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ได้แก่ ไม้แดง พะยูง ชิงชัน ประดู่ ซึ่งเป็นแนวคิดการผสมผสานการอนุรักษ์ ดิน น้ำ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ควบคู่กับความต้องการด้านเศรษฐกิจ ด้วยการจำแนกป่า 3 อย่าง ดังนี้
- ป่าไม้กินได้ คือ ไม้ผล เช่น ส้มโอ มะนาว มะกรูด มะม่วง ขนุน ลำไย และผักกินใบต่างๆ
- ป่าไม้ใช้สอย คือ ไม้โตเร็ว สำหรับใช้ในครัวเรือน เช่น สะเดา มะฮอกกานี
- ป่าไม้เศรษฐกิจ คือ ไม้ที่ปลูกไว้ขาย หรือไม้เศรษฐกิจ เช่น พะยูง ประดู่ ชิงชัน ไม้แดง
ส่วนประโยชน์ 4 อย่าง จำแนกแต่ละอย่างออกเป็น
- ป่าไม้กินได้ นำมาเป็นอาหาร ทั้งพืชกินใบ กินผล กินหัว และเป็นยาสมุนไพร
- ป่าไม้ใช้สอย นำมาสร้างบ้าน ทำเล้าไก่ ด้ามจอบเสียม ทำหัตถกรรม หรือกระทั่งใช้เป็นเชื้อเพลิง (ฟืน) ในการหุงต้มอาหาร
- ป่าไม้เศรษฐกิจ เป็นแหล่งรายได้ของครัวเรือน เป็นพืชที่สามารถนำมาจำหน่ายได้ ซึ่งจะปลูกพืชหลากหลายชนิดเพื่อลดความเสี่ยงเรื่องราคาตกต่ำและไม่แน่นอน
- ประโยชน์ในการช่วยอนุรักษ์ดินและน้ำ การปลูกพืชที่หลากหลายอย่างเป็นระบบ จะช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศน์ในสวน ช่วยปกป้องผิวดินให้ชุ่มชื้น ดูดซับน้ำฝน และค่อยๆปลดปล่อยความชื้นสู่สวนเกษตรกรรม
พ.ศ. 2560 ทำการปรับเปลี่ยนพื้นที่เพิ่มเติมคือขุดที่ดิน ทำเป็นร่องสวน แล้วนำดินที่ได้จากการขุด ขึ้นเป็นแปลง 12 แปลง พื้นที่ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน โดยแต่ละแปลงปลูกพืช แบ่งเป็น
- มะพร้าว 14 ต้น/แปลง
- มะม่วงและลำไย ชนิดละ 7 ต้น/แปลง
- กล้วย 7 ต้น/แปลง
- ข่า 14 กอ/แปลง
- มะกรูด 24 ต้น/แปลง
- ไม้ประดู่และไม้ชิงชัน อย่างละ 14 ต้น/แปลง
- ตะไคร้ รอบคันแปลง
ผลจากการปรับเปลี่ยนพื้นที่เป็นไร่นาสวนผสม ทำให้มีน้ำใช้ทำการเกษตรในช่วงฤดูแล้งสามารถทำให้พืชผักที่ปลูกไว้ให้ผลผลิตอย่างต่อเนื่อง สร้างให้มีรายได้ตลอดทั้งปี
พ.ศ. 2561 ได้เพิ่มกิจกรรมเลี้ยงปลาในร่องสวนที่ขุดไว้ มีพันธุ์ปลานิล ปลาตะเพียน และมีการเลี้ยงไก่พันธุ์พื้นบ้านขังในโรงเรียนปิดเพื่อกินเศษพืชผัก ผลไม้ที่เหลือใช้จากภายในสวน โดยมีการจัดการใช้ที่ดิน เงินทุน แรงงาน และการบริหารจัดการที่ดี ใช้ปัจจัยการผลิตให้คุ้มค่า เพื่อลดต้นทุนการผลิตที่ให้ผลตอบแทนสูง เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงและสร้างรายได้สู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคงต่ออาชีพและครอบครัว
- ผลงานและความสำเร็จของผลงานทั้งปริมาณและคุณภาพ ตลอดระยะเวลาที่ปฏิบัติงานและความยั่งยืน
พื้นที่ทำการเกษตรผสมผสานตามหลักฐานโฉนดที่ดินเลขที่ 47112 ทั้งหมด 25 ไร่ 62 ตารางวา มีการบริหารจัดการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้
ส่วนที่ 1 พื้นที่พักอาศัย จำนวน 2 งาน
- ใช้สำหรับเป็นที่พักอาศัย เก็บวัสดุอุปกรณ์ทางการเกษตร
- ใช้สำหรับผลิตน้ำหมักชีวภาพต่างๆ เพื่อใช้ในการเกษตร และผสมอาหารเลี้ยงปลาจากวัสดุเหลือใช้ต่างๆที่มีในพื้นที่ เพื่อลดต้นทุนในการผลิต
- ปลูกพืชผักสวนครัวเพื่อบริโภคในครัวเรือน ลดค่าใช้จ่าย
- ที่ตั้งเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรผสมผสาน (ไร่นาสวนผสม) เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชนสำหรับแก้ไขจากปัญหาของชุมชนและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้ และเป็นเครื่องมือในการส่งเสริมการเกษตรโดยเน้นการเรียนรู้จากเกษตรกรต้นแบบที่ประสบความสำเร็จในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ในประเด็นการเพิ่มผลผลิต การลดต้นทุนการผลิต การพัฒนาคุณภาพและการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิต ตลอดจนยึดหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง อีกทั้งยังใช้เป็นจุดนัดพบในการพบปะพูดคุยของเจ้าหน้าที่กับเกษตรกร และเกษตรกรกับเกษตรกรด้วยกันเอง
- โรงเรือนสำหรับเลี้ยงไก่พื้นบ้านจำนวน 100 ตัว เพื่อบริโภคลดค่าใช้จ่าย และจำหน่ายสร้างรายได้
มีระบบถังกักเก็บน้ำขนาด 2,000 ลิตร เพื่อสำรองน้ำไว้ใช้ในครัวเรือนและใช้สำหรับให้น้ำกับพืชที่ปลูกไว้ทั้งระบบภายในสวนผสมผสาน โดยการให้น้ำและปุ๋ยกับพืชใช้ระบบปั้มแบบเวนจูรี่ (Venturi injectors) หลักการทำงานของปั้มแบบนี้คือ การเพิ่มอัตราการไหลของน้ำในท่อให้เพิ่มมากขึ้นโดยการทำท่อให้คอดลงเพื่อให้สามารถสร้างแรงดูดในท่อเวนจูรี่ เพื่อดูดของเหลวเข้าท่อนั้น ส่วนประกอบของปั้มเป็นแบบง่าย ๆ คือไม่มีชิ้นส่วนที่เคลื่อนที่ สารละลายปุ๋ยเคมีที่ใช้จะบรรจุอยู่ในถังพลาสติกที่เปิดฝาไว้ อัตราส่วนความเจือจางของสารละลายปุ๋ยมีค่าคงที่ สามารถจะเลือกแบบและขนาดของปั้มได้ตามต้องการ ทั้งราคายังถูกกว่าแบบอื่นๆ ลักษณะการติดตั้งปั้มแบบเวนจูรี่อาจจะติดตั้งได้ 3 แบบ คือ การติดตั้งบนท่อประทานของระบบให้น้ำพืชโดยตรง การติดตั้งคร่อมโช๊ควาล์ว และการติดตั้งโดยมีปั้มช่วยฉีดน้ำจากท่อประทานผ่านปั้มเวนจูรี่

ภาพที่ 2 การให้น้ำและปุ๋ยกับพืชระบบปั้มแบบเวนจูรี่ (Venturi injectors)
ส่วนที่ 2 บ่อกักเก็บน้ำไว้ใช้และเลี้ยงปลา จำนวน 2 บ่อ พื้นที่รวม 1 ไร่ แบ่งได้ ดังนี้
- บ่อที่ 1 พื้นที่สระขนาด 3 งาน ซึ่งเป็นการเลี้ยงปลาในกระชัง ได้แก่ ปลานิลและปลาทับทิมเพื่อบริโภคและจำหน่าย ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้
วัสดุอุปกรณ์ในการทำกระชังเลี้ยงปลา
- ถังพลาสติกขนาด 120 ลิตร จำนวน 15 ถัง
- ไม้ไผ่ซาง จำนวน 20 ลำ
- ตาข่ายเลี้ยงปลา ขนาด 5 x 8 เมตร จำนวน 4 ผืน
- เชือกไนลอน จำนวน 20 กิโลกรัม
ต้นทุนต่อกระชังขนาด 5 x 8 เมตร เป็นเงิน 1,125 บาท
อายุการใช้งาน 3 ปี เลี้ยง 1 รุ่นต่อปี
วิธีการเลี้ยง
- ปล่อยปลาจำนวน 300 ตัวต่อกระชัง จำนวน 4 กระชัง รวมเป็น 1,200 ตัว
- ค่าพันธุ์ปลานิล (2 กระชัง) ตัวละ 2 x 600 เป็นเงิน 1,200 บาท
- ค่าพันธุ์ปลาทับทิม (2 กระชัง) ตัวละ 3 x 600 เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารเลี้ยงปลาต่อกระชัง ๆ ละ 6,000 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท
ผลผลิต
- ปลานิลต่อกระชัง 200 กิโลกรัม ๆ ละ 60 บาท เป็นเงิน 12,000 บาท
- ปลาทับทิมต่อกระชัง 200 กิโลกรัม ๆ ละ 80 บาท เป็นเงิน 16,000 บาท
กำไรต่อกระชัง
- ปลานิล เป็นเงิน 4,275 บาท
- ปลาทับทิม เป็นเงิน 7,975 บาท
- รวมกำไรจากการเลี้ยงปลาต่อปี เป็นเงิน 24,500 บาท
ให้อาหารโดยการผสมจากวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร และจากเศษพืชผักเหลือใช้ในพื้นที่
- สูตรผสมอาหารเลี้ยงปลา
รำอ่อน 10 กิโลกรัมรำแก่ 20 กิโลกรัมข้าวเปลือกบด 10 กิโลกรัมข้าวโพดบด 10 กิโลกรัมปลาป่นหรือหัวอาหารปลาชนิดเข้ม 5 กิโลกรัม | น้ำหมักชีวภาพ 5 ลิตรกากน้ำตาล 1 กิโลกรัมน้ำเปล่า 15 ลิตรพืชต่าง, ปอเทือง, หญ้าเนเปียร์, หญ้าหวาน (ที่บดหรือสับแล้ว) 10 กิโลกัมอ่างผสมปูน ขนาด 175 ลิตร 1 ใบ |
วิธีทำ นำรำอ่อน รำแก่ ข้าวเปลือกบด ข้าวโพดบด ปลาป่นหรือหัวอาหารปลา และปอเทืองหรือวัสดุอื่นๆที่บดหรือสับแล้ว มาผสมคลุกเคล้าให้เข้ากันในอ่างผสมปูน จากนั้นเติมกากน้ำตาลที่ผสมกับน้ำเปล่าและน้ำหมักชีวภาพไว้แล้ว มาผสมให้เข้ากันจนเป็นเนื้อเดียวกัน แล้วนำไปเข้าเครื่องบดอัดเป็นก้อนอาหารปลา หรือปั้นเป็นก้อนลูกกลมๆ แล้วนำไปตากแดดให้แห้ง แล้วเก็บใส่ภาชนะที่เตรียมไว้เป็นอาหารให้ปลาต่อไป ![]() ภาพที่ 3 อาหารปลาที่ผสมแล้วปั้นเป็นก้อน |
บ่อที่ 2 พื้นที่สระขนาด 1 งาน เป็นการเลี้ยงปลาจากธรรมชาติโดยใช้ฟางหมัก เพื่อบริโภคและจำหน่าย ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้
วิธีการเลี้ยง ทำอาหารให้ปลาจากฟางหมักเป็นจุดให้อาหารปลาภายในบ่อ การทำฟางหมักเป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดปริมาณอาหารที่ใช้เลี้ยงปลาได้ ใช้ได้ทั้งสำหรับเตรียมบ่ออนุบาลและเลี้ยงปลา เนื่องจากช่วยให้เกิดอาหารธรรมชาติหลายชนิดที่เป็นอาหารปลา ได้แก่ โรติเฟอร์ ไรแดง หนอนแดง และแบคทีเรีย นอกจากนี้ปลาสามารถกินฟางหมักได
การทำอาหารปลาด้วยฟางข้าว | |
วัสดุอุปกรณ์ ฟางข้าว 1 ก้อนรำอ่อน 1 กิโลกรัมมูลสัตว์ (ขี้วัว) 1 กิโลกรัมน้ำหมักชีวภาพ 1 ลิตรน้ำเปล่า 10 ลิตร | วิธีทำ นำรำอ่อนและมูลสัตว์มาผสมให้เข้ากันเอาข้อ 1 นำมาใส่ด้านข้างก้อนฟางเป็นเป็นจุดๆ ประมาณ 10 – 12 จุดนำน้ำหมักชีวภาพผสมกับน้ำเปล่ามารดให้ทั่วก้อนฟางแล้วนำไปเก็บไว้ในที่ร่ม 2 – 3 วันนำก้อนฟางลงบ่อตามจุดที่ต้องการ เพื่อให้เป็นอาหารปลาต่อไป |
วิธีการล่อปลาธรรมชาติ โดยใช้เศษผัก และวัสดุที่เหลือใช้ทางการเกษตรไปทำเป็นกองสุ่มเป็นแหล่งอาหารและที่อยู่อาศัยของปลา
ผลผลิตที่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดพันธุ์ปลา และปริมาณปลาจากธรรมชาติที่เข้ามาอาศัยอยู่ในบ่อของแต่ละปีตามความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ
กำไรจากการเลี้ยงปลาในบ่อธรรมชาตินี้อยู่ที่การจับมาเพื่อบริโภคและจำหน่าย เป็นการลดรายจ่ายให้กับครอบครัวอีกทางหนึ่ง
ส่วนที่ 3 ปลูกข้าว และพืชหลังนา จำนวน 16 ไร่
- พื้นที่ปลูกข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 โดยวิธีหว่านแห้ง โดยใช้น้ำหมักชีวภาพและฮอร์โมนต่างๆที่ทำไว้ใช้เอง ดังนี้
- ช่วงข้าวยืนต้นอายุ 30 – 40 วัน ใช้จุลินทรีย์หน่อกล้วย ปริมาณ 20 ลิตรต่อไร่ เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของราก ลำต้น และใบข้าว
- ช่วงข้าวกำลังออกรวงใช้ฮอร์โมนผลไม้สุก ปริมาณ 20 ลิตรต่อไร่ เพื่อเร่งการออกร่วงและติดเมล็ด อีกทั้งใช้จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง ปริมาณ 3 ลิตรต่อไร่เพื่อช่วยเร่งการเจริญเติบโตของข้าว
- ช่วงข้าวออกรวงและติดเมล็ดใช้น้ำหมักรกหมูหรือปลา ปริมาณ 20 ลิตรต่อไร่ เพื่อช่วยให้เมล็ดข้าวเต็มร่วงและมีน้ำหนักเพิ่มผลผลิต
โดยใช้วิธีปล่อยตามทางน้ำไหลแบบธรรมชาติเข้าไปตามร่องนาที่ได้ทำไว้ เป็นการลดค่าใช้จ่ายในการแจ้งแรงงานฉีดพ่น พร้อมทั้งช่วยลดต้นทุนการใช้สารเคมีต่าง ๆ ที่มีราคาแพง และมีสารพิษตกค้าง ทำให้ได้ผลผลิตที่ปลอดภัยไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อีกทั้งเพิ่มผลผลิตให้สูงขึ้น ผลผลิตน้ำหนักสดเฉลี่ย 800 – 850 กิโลกรัมต่อไร่ ผลผลิตที่ได้นำไปจำหน่ายสร้างรายได้ และเก็บบางส่วนไว้เพื่อบริโภคในครัวเรือนช่วยลดรายจ่าย
หลังฤดูทำนาปลูกปอเทือง จำนวน 13 ไร่ เก็บเกี่ยวผลผลิตเพื่อจำหน่ายสร้างรายได้ให้กับครอบครัว ส่วนใบและต้นบางส่วนเอามาตากแห้งเป็นส่วนผสมของอาหารเลี้ยงปลาช่วยลดต้นทุนค่าอาหารปลา ส่วนต้นตอที่เหลือไถกลบเพิ่มอินทรียวัตถุ และปรับโครงสร้างดิน
- ปลูกหอมแดงและกระเทียม จำนวน 1 ไร่ ไว้บริโภคในครัวเรือนเพื่อลดรายจ่ายในครอบครัว
ภาพที่ 4 น้ำหมักชีวภาพและฮอร์โมนที่ใช้ในนาข้าว
ตารางที่ 1 เปรียบเทียบต้นทุน-กำไร การผลิตข้าวและปอเทือง 3 ปี ย้อนหลัง
กิจกรรม | ต้นทุน/ปีการผลิต | |||||
ปี 2560 | ปี 2561 | ปี 2562 | ||||
รายรับ | รายจ่าย | รายรับ | รายจ่าย | รายรับ | รายจ่าย | |
ข้าวขาวดอกมะลิ 105ขายข้าวเปลือก 16 ไร่ | 820กก./ไร่ กก.ละ 9 บาท 118,080 | 820กก./ไร่ กก.ละ 9.50 บาท 124,640 | 800กก./ไร่ กก.ละ 10.5 บาท 134,400 | |||
ค่าไถดะ ไร่ละ 300 บาท | – | 4,800 | – | 4,800 | – | 4,800 |
ค่าไถหวานกลบ ไร่ละ 500 บาท | – | 8,000 | – | 8,000 | – | 8,000 |
ค่าพันธุ์ข้าว 15 กก./ไร่ กก. ละ 25 บาท | – | 6,000 | – | 6,000 | – | 6,000 |
ค่าปุ๋ย สูตร 16-20-0 จำนวน 5 กระสอบ | – | 3,500 | – | 3,500 | – | – |
ค่ายาปราบศัตรูพืชและจ้างฉีด | – | 6,000 | – | 6,000 | – | 6,000 |
ค่าจ้างหว่านข้าว ไร่ละ 80 บาท | – | 1,280 | – | 1,280 | – | 1,280 |
ค่าเก็บเกี่ยว ไร่ละ 600 บาท | – | 9,600 | – | 9,600 | – | 9,600 |
ค่าขนส่งตันละ 200 บาท | – | 2,624 | – | 2,624 | – | 3,200 |
รวมรายรับ | 118,080 | – | 124,640 | – | 134,440 | – |
รวมรายจ่าย | – | 41,804 | – | 41,804 | – | 36,840 |
กำไรสุทธิ | 76,276 | 82,836 | 97,560 | |||
กำไรต่อไร่ | 4,767.25 | 5,177.25 | 6,097.50 | |||
ปอเทือง | ||||||
ขายปอเทือง 13 ไร่ | 1,200 กก. X 15 บาท 18,000 | – | 1,200 กก. X 19 บาท 22,800 | – | 1,200 กก. X 30 บาท 36,000 | – |
ค่าเมล็ดพันธุ์ | – | – | – | – | – | – |
ค่าไถหว่านกลบไร่ละ 500 บาท | – | 6,500 | – | 6,500 | – | 6,500 |
ค่ายาปราบศัตรูพืชและจ้างฉีด | – | 4,500 | – | 4,500 | – | 4,500 |
รวมรายรับ | 18,000 | – | 22,800 | – | 36,000 | – |
รวมรายจ่าย | – | 11,000 | – | 11,000 | – | 11,000 |
กำไรสุทธิ | 7,000 | 11,800 | 25,000 | |||
กำไรต่อไร่ | 538.46 | 907.69 | 1,923.08 |
ส่วนที่ 4 เกษตรผสมผสาน จำนวน 5 ไร่ 2 งาน แบ่งเป็น 2 ส่วน ปลูกพืชผัก ไม้ผล เพื่อผลิตเป็นเกษตรปลอดภัยและเกษตรอินทรีย์จำหน่ายสร้างรายได้ในปัจจุบันและอนาคต ส่วนไม้ยืนต้น (ไม้ใช้สอย) ได้แก่ ประดู่ แดง พยุง ชิงชัน ตามแนวคิดการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง สร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติ ทำให้การปลูกพืชมีประสิทธิผล ช่วยลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ดังนี้
- แปลงไม้ผลและไม้ยืนต้น จำนวน 2 ไร่
- มะนาว จำนวน 108 ต้น ให้ผลผลิตแล้ว
- มะกรูด จำนวน 400 ต้น ยังไม่เก็บเกี่ยวผลผลิต
- ส้มโอ จำนวน 92 ต้น ยังไม่ให้ผลผลิต
- ไม้ยืนต้น จำนวน 130 ต้น อีก 10 ปี ให้ผลผลิต มูลค่าเฉลี่ยต้นละ 3,000 บาท
- พริกไทย จำนวน 80 ต้น ปลูกปี 2562 ยังไม่ให้ผลผลิต
- ผักหวาน จำนวน 80 ต้น ปลูกปี 2562 ยังไม่ให้ผลผลิต
- โดยได้นำวิธีการเสริมรากในไม้ผล คือส้มโอ มาปรับใช้ในสวน
ประโยชน์ของการเสริมราก
- ต้นไม้ที่เสริมรากไม่กลายพันธุ์ ให้ผลดกและใหญ่ รสชาติเหมือนเดิม
- มีรากแก้วที่แข็งแรงเจริญเติบโตได้เร็ว ป้องกันลม มีความแข็งแรง
- เป็นการทำสาวต้นไม้ทางราก
หมายเหตุ : ในการเสริมรากต้นไม้ต้องใช้ไม้ตระกูลเดียวกันเท่านั้นในการเสริมราก แต่ถ้าเป็นมะม่วงแนะนำให้เอาเมล็ดมะม่วงกะล่อนจะดี เพราะทนต่อสภาพดิน ฟ้า อากาศ ได้ดี
ขั้นตอน/วิธีทำ
นำกิ่งตอนมาปลูกประมาณ 6 เดือน ถึง 1 ปี หลังจากนั้นนำเมล็ดไม้ผลที่แข็งแรง ที่ต้องการ นำมาเพาะกล้าให้งอกประมาณ 4−5 ฟุต หรือนำเอาเมล็ดมาปลูกข้างต้นไม้ที่เราจะเสริมรากห่างกันประมาณ 50−60 เซนติเมตร หลังจากนั้นนำยอดไม้มาทาบกับต้นไม้ที่จะเสริมราก แล้วตัดยอดไม้เป็นรูปปากฉลาม ส่วนต้นไม้ที่จะนำไปทาบให้ตัดเป็นรูปตัวยู นำกล้าเพาะไม้ที่ตัดเป็นรูปปากฉลามนำมาเสียบเข้าด้วยกัน แล้วนำเทปใสมาพันจากข้างบนลงมาข้างล่าง พันให้แน่นไม่ให้น้ำไหลเข้าไปได้ ป้องกันไม่ให้ลำต้นและยอดเน่าปล่อยทิ้งไว้ประมาณ 15−20 วัน ถ้าต้นที่เพาะกล้าด้วยเมล็ดแตกยอดให้ตัดทิ้ง เพราะจะทำให้ต้นไม้ที่ทำการเสริมรากไม่เจริญงอกงามหรืออาจตายได้
ภาพที่ 5 การเสริมรากส้มโอ
- สวนผสมผสานและขุดร่องน้ำเลี้ยงปลา จำนวน 3 ไร่ 2 งาน โดยทำเป็นรูปแปลงยกร่อง จำนวน 12 แปลง ขนาดแปลงกว้าง 5 เมตร ยาว 40 เมตร ขนาดร่องน้ำกว้าง 3 เมตร ยาว 43 เมตร ลึก 1.50 เมตร ปลูกพืชผักผสมไม้ผล ไม้ยืนต้น และเลี้ยงปลาในร่องสวน ดังนี้
- ข่า จำนวน 250 กอ ให้ผลลิตแล้ว
- ตะไคร้ปลูกรอบคันแปลง จำนวน 1,000 กอ ให้ผลผลิตแล้ว
- กล้วยน้ำหว้า จำนวน 42 กอ ให้ผลผลิตแล้ว
- กล้วยหิน จำนวน 49 กอ ให้ผลผลิตแล้ว
- มะพร้าว จำนวน 250 ต้น ยังไม่ให้ผลผลิต อีก 2 ปีให้ผลผลิต
- ไม้ผลอื่น ๆ (ส้มโอ มะม่วง ขนุน ลำไย) จำนวน 92 ต้น ยังไม่ให้ผลผลิต
- ไม้ยืนต้น จำนวน 250 ต้น อีก 10 ปี ให้ผลผลิต มูลค่าเฉลี่ยต้นละ 3,000 บาท
- เลี้ยงปลานิล จำนวน 11,000 ตัว และปลาตะเพียน จำนวน 22,000 ตัว เพื่อบริโภคและจำหน่าย ลดรายจ่ายเพิ่มรายได้ให้กับครัวเรือน
การทำสาวข่า | |
วัสดุอุปกรณ์ มีดหรือกรรไกรฟางข้าวหรือเศษหญ้ามูลสัตว์หรือน้ำหมักชีวภาพน้ำ | วิธีทำ ตัดต้นข่าที่แก่แล้วออกให้เหลือไว้ประมาณกอละ 5 – 10 ต้นเอาฟางข้าวหรือเศษหญ้าคลุมใส่มูลสัตว์หรือน้ำหมักชีวภาพให้น้ำสม่ำเสมอ |
ตารางที่ 2 สรุปต้นทุน-กำไร กิจกรรมแปลงเกษตรผสมผสาน ย้อนหลัง 3 ปี
กิจกรรม | ต้นทุน/ปีการผลิต | |||||
ปี 2560 | ปี 2561 | ปี 2562 | ||||
รายรับ | รายจ่าย | รายรับ | รายจ่าย | รายรับ | รายจ่าย | |
กล้วยน้ำหว้าขายกล้วย 650 หวี*10 บาทขายปลีกล้วยค่าไฟฟ้าและอื่นๆ | – – – | – – – | – – – | – – – | 6,500 210 – | – – 1,000 |
รวมรายรับ | – | – | – | – | 6,710 | – |
รวมรายจ่าย | – | – | – | – | – | 1,000 |
กำไรสุทธิ | – | – | – | – | 5,710 | |
กล้วยหินขายกล้วย 189 หวี*30 บาทค่าไฟฟ้าและอื่นๆ | – – | – – | – – | – – | 5,670 – | – 1,000 |
รวมรายรับ | – | – | – | – | 5,670 | – |
รวมรายจ่าย | – | – | – | – | – | 1,000 |
กำไรสุทธิ | – | – | – | – | 4,670 | |
มะนาวขายมะนาวลูกละ 1 บาทค่าไฟฟ้าและอื่นๆ | – | – | 2,000 | – 1,000 | 7,630 | – 2,000 |
รวมรายรับ | – | – | 2,000 | – | 5,670 | – |
รวมรายจ่าย | – | – | – | 1,000 | – | 2,000 |
กำไรสุทธิ | – | – | 1,000 | – | 5,630 | |
ข่าขายข่าละ 1 บาทค่าไฟฟ้าและอื่นๆ | – | – | 25,600 | – 5,000 | 5,310 | – 1,200 |
รวมรายรับ | – | – | 25,600 | – | 5,310 | – |
รวมรายจ่าย | – | – | – | 5,000 | – | 1,200 |
กำไรสุทธิ | – | – | 20,600 | – | 4,110 | |
ตะไคร้ขายตะไคร้ กก. ละ 15 บาทค่าไฟฟ้าและอื่นๆ | – | – | 25,500 | – 12,000 | 8,250 | – 1,000 |
รวมรายรับ | – | – | 25,500 | – | 8,250 | – |
รวมรายจ่าย | – | – | – | 12,000 | – | 1,000 |
กำไรสุทธิ | – | – | 13,500 | – | 7,250 |
12 |
ส่วนที่ 5 ไม้ยืนต้น (ไม้ใช้สอย) จำนวนประมาณ 2 ไร่ ได้แก่ ประดู่ แดง พยุง ชิงชัน สะเดา บริเวณรอบคันนา และคันบ่อน้ำ ตามแนวทางธนาคารต้นไม้ของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เพื่อสร้างความสมดุลให้กับระบบนิเวศน์ จำนวนประมาณ 1,000 ต้น อีก 5 ปี ให้ผลผลิต มูลค่าเฉลี่ยต้นละ 3,000 บาท


ภาพที่ 6 ปลูกไม้ยืนต้นตามแนวทางธนาคารต้นไม้

ภาพที่ 7 แผนผังแปลงไร่นาสวนผสม
ตารางที่ 3 ปฏิทินการดำเนินกิจกรรมภายในแปลงไร่นาสวนผสม
มีการปฏิบัติดูแลทั้งการปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ ประมง และการผลิตปัจจัยต่างๆ ดังนี้
กิจกรรม | เดือน | |||||||||||
ม.ค. | ก.พ. | มี.ค. | เม.ย. | พ.ค. | มิ.ย. | ก.ค. | ส.ค. | ก.ย. | ต.ค. | พ.ย. | ธ.ค. | |
นาข้าวปุ๋ยพืชสดปลูกข้าว (นาหว่าน)ดูแลรักษาเก็บเกี่ยว | ||||||||||||
ไม้ผล (กล้วย, มะนาว, มะกรูด, มะพร้าว ส้มโอ, มะม่วง, ขนุน, ลำไย ฯลฯใส่ปุ๋ยบำรุงต้นตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ยบำรุงดอก/ผลเก็บเกี่ยว | ||||||||||||
พืชผัก/พืชแซมในสวนเก็บเกี่ยว | ||||||||||||
ไก่พื้นบ้าน | ||||||||||||
การเลี้ยงปลาในกระชังปล่อยลูกปลา | ||||||||||||
การเลี้ยงปลาในบ่อดินปล่อยลูกปลาเลี้ยงโดยธรรมชาติ/ผสมอาหารปลาจับจำหน่าย | ||||||||||||
ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ | ||||||||||||
ไม้ยืนต้น (ธนาคารต้นไม้)ตัดแต่งกิ่ง |
- แรงงานในครัวเรือน 3 คน และจ้างแรงงานช่วยเป็นครั้งคราว 2 – 3 คน
- จ้างแรงงานช่วยสลับกันไปมา วันละ 300 บาท เดือนละประมาณ 15 วัน เป็นเงิน 4,500 บาทต่อเดือน
ตลาดจำหน่ายผลผลิตภายในชุมชน และมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อในพื้นที่ ทำให้มีรายได้ให้กับครอบครัว ดังนี้
- รายได้รายวัน/รายสัปดาห์ จากการขายพืชผักข่า ตะไคร้ ที่ตัดขายได้เกือบทุกวัน และทุกสัปดาห์
- รายได้รายเดือน จากการขายกล้วยน้ำว้า กล้วยหิน หัวปลี มะนาว และไก่พื้นบ้าน ที่เก็บจำหน่ายได้ทุกเดือน
- รายได้รายปี จากการขายข้าว ปอเทือง และปลา

ภาพที่ 8 ผลผลิตที่จำหน่ายสร้างรายได้
- การจดบันทึกและบัญชี
ในการดำเนินกิจกรรมการเกษตรด้านไร่นาสวนผสม กิจกรรมต่างๆสามารถเกื้อกูลกันได้ ทำให้มีค่าใช้จ่ายในการทำการเกษตรลดลง ยกเว้นค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ได้แก่ ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า เป็นต้น มีการจดบันทึกการทำกิจกรรมต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ โดยความรู้ด้านบัญชีรายรับรายจ่ายได้จากการอบรมจากหน่วยงานต่างๆ เช่น ธกส. สำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์ กศน. สำนักงานเกษตรอำเภอ การใช้ประโยชน์จากการจัดทำบัญชีทำให้มีความรู้สามารถแยกรายรับ-รายจ่ายได้ ทำให้รู้ต้นทุนการผลิต แนวโน้มราคาผลผลิต และนำมาประมาณการวางแผนในการปลูกพืชชนิดต่างๆในปีถัดไป และการทำบัญชีครอบครัวทำให้ทราบถึงฐานะของครอบครัวสามารถตัดสิ่งที่ฟุ่มเฟือยที่ไม่จำเป็นออกไปได้

ภาพที่ 9 สมุดบันทึกบัญชีครัวเรือน
ตารางที่ 4 สรุปการผลิตและผลตอบแทนย้อนหลัง 3 ปี (2560 – 2563)
รายการ | จำนวน | ผลผลิต/รายได้/รายจ่าย | ||||||||
ปี 2560 | ปี 2561 | ปี 2562 | ||||||||
ผลผลิต | รายได้ | รายจ่าย | ผลผลิต | รายได้ | รายจ่าย | ผลผลิต | รายได้ | รายจ่าย | ||
นาข้าว | 16 ไร่ | 13.12 ตัน | 118,080 | 41,804 | 13.12 ตัน | 124,640 | 41,804 | 12.80 ตัน | 134,400 | 36,840 |
ปอเทือง | 13 ไร่ | 1,200 กก. | 18,000 | 11,000 | 1200 กก. | 22,800 | 11,000 | 1200 กก. | 36,000 | 11,000 |
กล้วยน้ำหว้า | 42 กอ | – | – | – | – | – | – | 650 หวี | 6,710 | 1,000 |
กล้วยหิน | 49 กอ | -. | – | – | – | – | – | 189 หวี | 5,670 | 1,000 |
มะนาว | 108 ต้น | – | – | – | 2,000ลูก | 2,000 | 1,000 | 7,630 ลูก | 7,630 | 2,000 |
มะกรูด | 600 ต้น | – | – | – | – | – | – | – | – | – |
ส้มโอ | 92 ต้น | – | – | – | – | – | – | – | – | – |
มะพร้าว | 250 ต้น | – | – | – | – | – | – | – | – | – |
ไม้ผลอื่นๆ | 92 ต้น | – | – | – | – | – | – | – | – | – |
ข่า | 250 กอ | – | – | – | 25,600 หน่อ | 25,600 | 5,000 | 5,310 หน่อ | 5,310 | 1,200 |
ตะไคร้ | 1,000 กอ | – | – | – | 1,700 กก | 25,000 | 12,000 | 550 กก | 8,250 | 1,000 |
พริกไทย | 80 ต้น | -. | – | – | – | – | – | – | – | – |
ผักหวาน | 80 ต้น | -. | – | – | – | – | – | – | – | – |
ปลาในกระชัง | 4 กระชัง | -. | – | – | 800 กก | 56,000 | 31,500 | – | – | – |
ปลาในบ่อดิน | 2 บ่อ | 300 กก. | 18,000 | 17,500 | 800 กก. | 48,000 | 15,000 | 2,000 กก | 12,000 | 8,000 |
ปลาในร่องสวน | 12 ร่อง | – | – | – | 50 กก | 3,000 | 1,000 | – | – | – |
ไก่พื้นบ้าน | 200 ตัว | -. | – | 8,500 | 280 กก | 16,800 | 8,500 | 106.2 กก. | 8,500 | 5,800 |
ปุ๋ยน้ำหมักชีวภาพ | 1,200 ลิตร | 1,200 ลิตร | – | 4,100 | 1,200 ลิตร | – | 4,100 | 1,200 ลิตร | – | 4,100 |
ไม้ยืนต้น | 1,380 ต้น | – | – | – | – | – | – | – | – | – |
รวม | – | – | 154,080 | 82,904 | – | 323,840 | 207,404 | – | 224,470 | 71,940 |
คงเหลือ (รายได้-รายจ่าย) | – | – | 71,176 | – | 116,436 | – | 152,530 |
- ความเป็นผู้นำ และการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวมในด้านต่างๆ
จากการที่ได้อาสาเข้ามาทำงานเพื่อส่วนรวมรับใช้พี่น้องประชาชนทั่วไป และเกษตรกร ในตำแหน่งเริ่มแรกผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน จนได้รับเลือกให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน และปัจจุบันดำรงตำแหน่งกำนันตำบลท่าพลนั้น ทำให้ต้องเสียสละเวลาส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนร่วมต่าง ๆ และพัฒนาตนเองหาความรู้หรือวิทยาการสมัยใหม่เข้ามาปรับปรุงเปลี่ยนแปลงการทำการเกษตร ตามคติประจำใจที่ว่า “คิดก่อนทำ ผู้นำต้องทำก่อน” จนสามารถปรับเปลี่ยนจากการทำเกษตรแบบเดิมที่ปลูกพืชเชิงเดี่ยว มาเป็นการทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสมตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ที่ประสบผลสำเร็จสามารถสร้างรายได้ ลดร่ายจ่าย และเป็นศูนย์เรียนรู้ที่ถ่ายทอดเทคโนโลยีทางการเกษตรให้กับชุมชน และประชาชนที่สนใจทั่วไป
- บทบาทความเป็นผู้นำอย่างเป็นทางการ และไม่เป็นทางการ
ได้เป็นผู้นำ ผู้แทน คณะกรรมการ ของหน่วยงานต่าง ๆ ดังนี้
- กำนันตำบลท่าพล อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ จังหวัดเพชรบูรณ์ ทำหน้าที่ตรวจตรารักษาความปกติเรียบร้อยในตำบล ให้ประชาชนในตำบลประพฤติตามตามหลักกฎหมายข้อบังคับของสังคม ทั้งการที่จะป้องกันภยันตรายและรักษาความสงบสุขของประชาชนในตำบล หรือรับฟังปัญหาหรือข้อร้องเรียนต่างๆในตำบล เพื่อประสานและหาแนวทางแก้ไขให้กับประชาชนในการ “บำบัดทุกข์ บำรุงสุข” ในตำบลต่อไป
- เป็นประธานเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรผสมผสาน (ไร่นาสวนผสม) ตำบลท่าพลเป็นแหล่งเรียนรู้ด้านการเกษตรของชุมชน สำหรับแก้ไขปัญหาของชุมชนและสามารถตอบสนองความต้องการด้านการเกษตรของชุมชนได้โดยมีฐานเรียนรู้ 4 ฐาน ได้แก่ ฐานที่ 1 เศรษฐกิจพอเพียง ไร่นาสวนผสม ฐานที่ 2 การเลี้ยงปลาในกระชังและร่องสวน ฐานที่ 3 การลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิต และฐานที่ 4 การบริหารจัดการน้ำ (ภาคผนวกที่ 7)
- เป็นเกษตรกรปราดเปรื่อง “Smart Farmer” ต้นแบบสาขาเกษตรผสมผสาน (ไร่นาสวนผสม) เป็นเกษตรกรที่มีความรอบรู้ในระบบการผลิต ด้านการเกษตรไร่นาสวนผสม มีความสามารถในการวิเคราะห์ เชื่อมโยงและบริหารจัดการการผลิตและการตลาด โดยใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจ คำนึงถึงคุณภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภค สังคมและสิ่งแวดล้อม
- คณะกรรมการศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร (ศพก.) อำเภอเมืองเพชรบูรณ์ เพื่อดำเนินงานตามนโยบายของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดทำแนวทางการพัฒนาและแผนการดำเนินงาน ขับเคลื่อนการดำเนินงาน พร้อมให้บริการข้อมูล ข่าวสาร ด้านการเกษตรต่างๆในพื้นที่
- คณะกรรมการศูนย์บริการและถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรประจำตำบลท่าพล ร่วมประชุม จัดทำแผนพัฒนาการเกษตร และเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาด้านการเกษตรประจำตำบล
- ประธานคณะกรรมการพัฒนาด้านการเกษตรระดับชุมชนตำบลท่าพล 1 ร่วมประชุม พิจารณา กลั่นกรองการดำเนินงานโครงการให้สำเร็จลุล่วง ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวัตถุประสงค์
- คณะกรรมการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ภายใต้ร่มพระบารมี เพื่อการพัฒนาการเกษตรอย่างยั่งยืน ระดับชุมชนตำบลท่าพล 1 ร่วมประชุม พิจารณา กลั่นกรองการดำเนินงานโครงการให้สำเร็จลุล่วง ถูกต้องตามหลักเกณฑ์และวัตถุประสงค์
- รองประธานคณะกรรมการธนาคารต้นไม้ระดับภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด ของ ธกส. ร่วมส่งเสริมการปลูกป่าไม้ยืนต้นในพื้นที่ของตนเอง และพื้นที่สาธารณะและรณรงค์การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่ป่าในชุมชน
- ประธานคณะกรรมการต้นไม้ระดับจังหวัดเพชรบูรณ์
ประธานคณะกรรมการธนาคารต้นไม้บ้านอมกงพัฒนา
- ประธานกลุ่มเกษตรกรบ้านอมกงพัฒนา
- ประธานกลุ่มน้ำหมักชีวภาพบ้านอมกงพัฒนา
- ประธานกลุ่มโครงการพัฒนาข้าวพันธุ์ดีบ้านอมกงพัฒนา
- ประธานอาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนบ้านอมกงพัฒนา
- ประธานกลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิตบ้านอมกงพัฒนา
- ประธานกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์บ้านอมกงพัฒนา
- ประธานกลุ่มผลิตน้ำดื่มบ้านอมกงพัฒนา
- ประธานกองทุนหมูบ้านบ้านอมกงพัฒนา
- ประธานกองทุนแม่ของแผ่นดินบ้านอมกงพัฒนา
- ประธานคณะกรรมการหมู่บ้านอมกงพัฒนา
- ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านอมกง
- รองประธานกลุ่มฌาปนกิจสงเคราะห์บ้านอมกงหมู่ที่ 7 และหมู่ที่ 20 ตำบลท่าพล
- ประธานคณะกรรมการประปาบ้านอมกงพัฒนา
- คณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพล
- นายกสมาคมฌาปนกิจลูกค้า ธ.ก.ส. สาขาท่าพล
- การทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม
ได้อุทิศตนเพื่อทำประโยชน์ต่อสังคมหลายด้าน ดังนี้
- การเป็นศูนย์เรียนรู้ แปลงเรียนรู้
- เป็นที่ทำการเครือข่ายศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร ศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรผสมผสาน (ไร่นาสวนผสม)ภายใต้การร่วมมือของกรมส่งเสริมการเกษตร หน่วยงานภาคีร่วมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมทั้งองค์การบริหารส่วนตำบลท่าพล ที่มุ่งเน้นการแบ่งปัน แลกเปลี่ยนเรียนรู้ การวางแผนการผลิต รวมทั้งเป็นต้นแบบให้กับชุมชนในการทำการเกษตรแบบผสมผสานไร่นาสวนผสม การนำทรัพยากรในท้องถิ่นมาใช้ประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ ชุมชนสามารถดำเนินตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง
- เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านไร่นาสวนผสมของกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานจากหน่วยงานต่าง อีกทั้งประชาชนทั่วไปที่สนใจ
- เป็นที่ตั้งของธนาคารต้นไม้บ้านอมกงพัฒนาของ ธกส. ด้านการรวบรวมส่งเสริมการปลูกป่า สำรวจและชี้แจงการเข้าร่วมโครงการให้กับสมาชิก
- เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย (กศน.)เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานด้านการเกษตรแบบผสมผสาน
- เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)เพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานด้านการเกษตรตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
- เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบสัมมาชีพของสำนักงานพัฒนาชุมชนเพื่อเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานการประกอบอาชีพตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
- เป็นศูนย์เรียนรู้ด้านเกษตรทฤษฎีใหม่ของโรงงานน้ำตาลมิตรผลเพื่อเป็นแหล่งฝึกอบรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ศึกษาดูงานด้านเกษตรทฤษฎีใหม่

ภาพที่ 10 แปลงเรียนรู้เกษตรผสมผสาน
- การขยายผลสู่ชุมชน สังคม
เป็นวิทยากร เนื่องจากได้ลงมือปฏิบัติเอง เป็นแปลงเรียนรู้ และเป็นศูนย์เรียนรู้ของหลายๆหน่วยงาน ทำให้มีความรู้ความสามารถเป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ให้กับเกษตรกร หรือประชาชนทั่วไปที่สนใจทั้งในและนอกชุมชน ทั้งจากโรงเรียน หน่วยงานราชการต่างๆ ทั้งจากภาครัฐ เอกชน ที่มาศึกษาดูงานอย่างเป็นทางการ ซึ่งจัดโดยหน่วยงานต่างๆ หรือบุคคลที่สนใจมาด้วยตนเองหรือโทรศัพท์มาปรึกษา โดยไม่มีการห่วงวิชา ความรู้ พร้อมยินดีถ่ายทอดประสบการณ์ต่างที่ได้ทำมาทั้งความสำเร็จและล้มเหลว เพื่อเป็นบทเรียนหรือวิทยาทานให้กับคนอื่น เพราะต้องการช่วยเหลือคนเพื่อให้ประกอบอาชีพด้านการเกษตรที่มั่นคง มีรายได้สามารถเลี้ยงดูครอบครัวได้อย่างยั่งยืน เรื่องที่สามารถเป็นวิทยากรได้ เช่น เศรษฐกิจพอเพียง การทำการเกษตรแบบผสมผสานไร่นาสวนผสม การทำน้ำหมักชีวภาพ การปลูกไม้ 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง การบำรุงรักษาดิน การบริหารจัดการน้ำ ธนาคารน้ำใต้ดิน และอื่นๆอีกมากมายทั้งปศุสัตว์ ประมง เป็นต้น
การรับคณะศึกษาดูงาน โดยในแต่ละปีจะมีผู้มาปรึกษา มาศึกษาดูงานเป็นจำนวนมาก ทั้งในชุมชน ต่างชุมชน ในจังหวัด ต่างจังหวัด และจากภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งเป็นผลจากการยอมรับของสังคมว่าแนวทางที่ปฏิบัติมานั้นเป็นประโยชน์และเป็นแนวทางที่ถูกต้อง
เครือข่าย คือผู้ที่ได้มาศึกษาดูงาน ขอคำปรึกษา และได้นำไปปฏิบัติตามในพื้นที่ของตนเองตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ซึ่งประสบผลสำเร็จและมีความยั่งยืนในอาชีพ บางรายสามารถเป็นแหล่งถ่ายทอดความรู้ให้แก่ผู้อื่นได้ ได้แก่
- นายสนั่น ลบเมือง หมู่ 20 ตำบลท่าพล ดำเนินกิจกรรมไร่นาสวนผสม
- นายเฉลี่ยง ลบเมือง หมู่ 20 ตำบลท่าพล ดำเนินกิจกรรมไม้ผลปลูกชมพู่
- นายธีระ พูลส้ม หมู่ 20 ตำบลท่าพล ดำเนินกิจกรรมไม้ผลปลูกชมพู่
- นายสมศักดิ์ ลอยเทศ หมู่ 20 ตำบลท่าพล ดำเนินกิจกรรมเกษตรผสมผสาน
นางรัชดา แก้วใหญ่ หมู่ 21 ตำบลท่าพล ดำเนินกิจกรรมปลูกอินทผาลัม พืชผัก ขุดบ่อเลี้ยงปลา
- นายธีรพัฒน์ เหมือนพรม หมู่ 21 ตำบลท่าพล ดำเนินกิจกรรมขุดบ่อเลี้ยงปลา
- นายประเสริฐ กันนิล หมู่ 20 ตำบลท่าพล ดำเนินกิจกรรมไร่นาสวนผสม
- นายเสถียร กิ่งบุบผา หมู่ 19 ตำบลท่าพล ดำเนินกิจกรรมเลี้ยงกบในกระชัง
- นายประสิทธิ์ สังข์เมือง หมู่ 3 ตำบลท่าพล ดำเนินกิจกรรมเลี้ยงกบ เลี้ยงปลาในกระชังบก
ภาพที่ 11 สรุปภาพกิจกรรม การขยายผลสู่สังคม และชุมชน

เป็นวิทยากรถ่ายทอดความรู้ รับคณะศึกษาดูงาน
ได้รับรางวัลและประกาศเกียตริคุณหลากหลายอย่างต่อเนื่อง บ่งชี้ถึงความสำเร็จและการยอมรับ
การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ที่ตั้งแปลง
พื้นที่ทำการเกษตรไร่นาสวนผสมที่ทำอยู่นี้ ไม่ได้อยู่ในเขตป่าสงวน หรือเขตหวงห้ามของทางราชการ เป็นพื้นถูกต้องตามกฎหมาย โฉนดที่ดินเลขที่ 47112 เนื้อที่ 25 ไร่ 62 ตารางวา เป็นมรดกของภรรยา
- การผลิตที่เกื้อกูลต่อสิ่งแวดล้อม
การทำการเกษตรไร่นาสวนผสม แต่ละขั้นตอนในการผลิตพืช ปศุสัตว์ ประมง จะให้ความสำคัญในการรักษาธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ส่งผลให้ระบบนิเวศน์ทางการเกษตรดีขึ้นดังนี้
การปรับปรุงบำรุงดิน
- การไถกลบตอซังข้าวแทนการเผาทำลาย เพื่อลดภาวะโลกร้อนและเป็นการรักษาจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์บริเวณหน้าดิน นอกจากนี้ยังปลูกปอเทืองเป็นปุ๋ยพืชสดในการไถกลบเพื่อเพิ่มอินทรีย์วัตถุและปรับโครงสร้างให้แก่ดิน
- การใช้น้ำหมักชีวภาพชนิดต่างๆในการทำการเกษตรแบบไร่นาสวนผสมแทนการใช้ปุ๋ย สารเคมี จะช่วยสร้างความสมบูรณ์ของดินในธรรมชาติ ลดมลภาวะ และสารพิษตกค้างในดิน
การป้องกันรักษาดิน น้ำ และสิ่งแวดล้อม
- การปลูกไม้ยืนต้นในพื้นที่ โดยหลักการปลูกป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง ซึ่งเป็นแนวคิดการผสมผสานการอนุรักษ์ ดิน น้ำ และการฟื้นฟูทรัพยากรป่าไม้ ควบคู่กับความต้องการด้านเศรษฐกิจ จะช่วยสร้างสมดุลของระบบนิเวศในสวน ช่วยปกป้องผิวดินให้ชุ่มชื้น ดูดซับน้ำฝน และค่อยๆปลดปล่อยความชื้นสู่สวนเกษตรกรรมก่อให้เกิดความสมดุลของธรรมชาติ และลดภาวะโลกร้อน
- รักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินและน้ำ โดยการคลุมดินโคนต้นไม้ผลเพื่อรักษาความชุ่มชื่นของดินและน้ำ อีกทั้งคุมวัชพืช ด้วยการนำเอาฟางข้าว หรือเศษหญ้า ใบไม้ที่ร่วงหล่นและจากการตัดแต่งกิ่งมาปกคลุ่ม และไม่ทำการเผาเศษหญ้า ใบไม้ กิ่งไม้ที่ร่วงหล่น ที่จะมีผลทำให้โครงสร้างของดินเสียไป
- การทำธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด และการขุดบ่อกักเก็บน้ำระบบเปิด ที่ช่วยรักษาความสมดุลของธรรมชาติ ที่มีการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนที่มีน้ำมากกักเก็บน้ำไว้ใช้ และในช่วงฤดูแล้งสามารถนำน้ำมาใช้ทางการเกษตรช่วยลดปัญหาการขาดแคลนน้ำได้ตลอดทั้งปี สร้างความสมดุลให้กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สร้างให้เกิดระบบนิเวศน์อย่างสมบูรณ์
- การจัดการกับสิ่งเหลือใช้จากเศษพืชผัก ผลไม้ต่างๆภายสวนไร่นาสวนผสม ที่สามารถนำมาทำเป็นปุ๋ยน้ำหมักต่างๆ เป็นอาหารเลี้ยงปศุสัตว์ ประมง ได้อย่างสมดุล เกื้อกูลกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้อย่างลงตัว
ภาพที่ 12 สรุปผลกิจกรรมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ปอเทืองปรับปรุงดิน คลุมเศษฟางรักษาดินและน้ำ ธนาคารน้ำใต้ดิน การจัดการสิ่งของเหลือ